สำนึกรัก(ทีมฟุตบอล)บ้านเกิด

สำนึกรัก(ทีมฟุตบอล)บ้านเกิด
นี่คือสุดยอดทีมในจังหวัดอุตรดิตถ์ (เพราะมีทีมเดียวครับ)

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดอกช้องนาง หรือ ดอกซ้องนาง


ดอกช้องนาง หรือซ้องนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์      Thunbergia affinis  S. moore
ตระกูล                  ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ               Bush Clockvine



 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
  เป็นไม้พุ่มเตี้ย ใบมน ปลายใบแหลม ริมใบบิดเล็กน้อย ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง ดอกสีม่วง บางพันธุ์มีสีขาว เป็นทรงรูปกรวยปากแตร มี 5 กลีบ ตรงกลางดอกเป็นสีเหลือง ดอกบอบบางมาก บานไม่ทน  คล้ายดอกผักบุ้ง มักคว่ำดอกลงดินเพราะก้านดอกเล็กรับน้ำหนักดอกไม่ได้ ชอบอยู่ในแดดจัด
 

     ดอกช้องนาง จะมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นสีขาวกับสีม่วง นิยมปลูกประดับตามบ้าน สำนักงาน หรือสวนสาธารณะมาช้านาน ปัจจุบันพบว่ามี ช้องนางดอกด่างวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โดยดอก จะมีความแตกต่างไปจาก 2 ชนิดพันธุ์ที่กล่าวข้างต้นคือ ในดอกเดียวจะมีสีเป็น 2 สี คือ สีขาวและสีม่วง ดูสวยงามแปลกตาน่ารักมาก จึงกำลังเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

     ช้องนางดอกด่าง มีชื่อวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับช้องนาง 2 ชนิดพันธุ์ ที่กล่าวข้างต้นคือ THUNBERGIA ERECTA (BENTH) T.ANDERS. อยู่ ในวงศ์ THUNBERGIACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร กิ่งก้านโค้งงอ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ใบดกเป็นพุ่มแน่น
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบและปลายกิ่ง มีใบประดับสีเขียวอ่อนขนาดใหญ่ เป็นรูปโค้ง 2 อัน ซึ่งขณะที่ดอกยังตูมอยู่ ใบประดับดังกล่าวจะหุ้มตัวดอกเอาไว้เกือบมิด กลีบเลี้ยงเป็นสีขาว ลักษณะเป็นเส้น 10-14 เส้น
กลีบดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอดขนาดใหญ่ ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 5 ซม. ปลายกลีบดอกรูปมน หรือตัดตรง ระหว่างขอบกลีบดอกจะมีรอยผ่าเป็นหยัก 1-2 หยัก กลีบดอกเป็น 2 สี คือ สีม่วงกับสีขาว ใจกลางดอก หรือผนังหลอดดอกเป็นสีเหลืองสดเห็นชัดเจน

    ดอก เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม. มีเกสรตัวผู้ 4 อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามมากผลเป็น รูปสามเหลี่ยม ปลายเป็นจะงอย เมื่อผลแก่จะแตกอ้า ภายในมีเมล็ด ดอกออกตลอดปี แต่จะมีดอกดกในช่วงฤดูหนาว ถิ่นกำเนิดแอฟริกาเขตร้อน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง ซึ่งสันนิษฐานว่า ช้องนางดอกด่าง คงจะเกิดจากการเพาะด้วยเมล็ดแล้วกลายพันธุ์แบบถาวร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น